รีวิว anatomy of time เวลา
สวัสดีครับนี่คือ หนังไทยเรื่องนึง ส ปอย หนัง ที่บอกเล่าเรื่องราว ระหว่าง อดีต ปัจจุบัน แบบตัดไปตัดมา หนังไทยใหม่ล่าสุด ภาพยนตร์ชื่อเรื่อง “เวลา” ( Anatomy of Time ) เป็นผลงานล่าสุดของผู้กำกับที่มากฝีมือ ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี อย่าง “จักรวาล นิลธำรงค์” (จาก Vanishing Point) ที่รับหน้าที่เขียนบท ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์ หนังเรื่องนี้เองด้วย โดยหนังได้ถูกรับเลือกให้เข้าฉาย และ มีสิทธิ์เข้าประกวดในสาย Orizzonti Competition ของเทศกาลหนังเวนิสในครั้งนี้ จากข้อมูลเบื้องต้นที่เพจเฟซบุ๊กของหนังได้เปิดเผยออกมานั้น ระบุว่า Anatomy of Time เป็นเรื่องราวของหญิงชราวัย 70 ปี ที่ชื่อ แหม่ม เธอเฝ้าดูแลสามีของเธอกับช่วงวาระสุดท้ายในชีวิตของเขา ณ ตอนนั้น เธอได้มองย้อนกลับไปยังอดีตอันเปี่ยมไปด้วยความขมขื่น ความสูญเสีย แต่ก็ยังตราตรึงไปด้วยความสุขเมื่อครั้งที่เธอยังอยู่ในวัยสาว
ภาพยนตร์ไทยที่พร้อมจะพาคุณยิ้มปาดน้ำตาไปในเวลาเดียว เวลา (Anatomy of time) หนังไทยที่ได้รางวัลจากการเข้าฉายในเทศกาลหนังทั่วโลก ทั้งรางวัล Grand Prize (Best Film) จากงาน TOKYO FILMeX ประเทศญี่ปุ่น, รางวัล Special Mention Award จากงาน Five Flavours Film Festival เมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ และ รางวัล Bisato Award for Best Screenplay จากงาน Venice International Film Festival ประเทศอิตาลี โดยผู้กำกับ จักรวาล นิลธำรงค์ (Vanishing Point, 2548) เล่าเรื่องราวของหญิงชราที่ต้องดูแลสามีในช่วงสุดท้ายของชีวิต และ เป็นช่วงเวลาที่เธอได้มองย้อนกลับไปยังอดีตที่ทั้งขมขื่น และ เปี่ยมสุข
รีวิว anatomy of time เวลา
รีวิว anatomy of time เวลา Anatomy of Time หรือ เวลา คือผลงานการกำกับของ เก่ง-จักรวาล นิลธำรงค์ ที่ได้เดินทาง anatomy of time เต็มเรื่อง ไปเข้าฉายรอบ World Premiere ในงาน Venice International Film Festival เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี และ ได้รับรางวัล Bisato Award for Best Screenplay มาได้สำเร็จ รวมถึงยังได้เดินทางไปเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอีกหลายแห่ง และ ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์อย่างล้นหลาม
สำหรับ Acting บรรดานักแสดงอิสระ อาทิ คุณเอิงเอย ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ จาก Motel Mist โรงแรมต่างดาว (2559) , คุณอุ้ม วัลลภ รุ่งกำจัด จาก กระเบนราหู (2561) , คุณบี๋ เทวีรัตน์ ลีลานุช จาก ทวิภพ (2547) และ คุณโสระบดี ช้างศิริ จาก The Maid (2563) แสดงได้ยอดเยี่ยม ถ่ายทอดอุปนิสัยได้เป็นธรรมชาติดีกว่านักแสดงดังมืออาชีพอีก
แถมได้คุณน้าทองขาว ภัทรโชคชัย ดาวร้ายมากฝีมือจากละคร ล่า (2537) มาร่วมสมทบด้วย เป็นอะไรที่ surprise มาก แม้จะโผล่มาไม่กี่ฉาก ช่วยเพิ่มกิมมิคให้ยกระดับ Story ขึ้นไปอีกระดับ แต่ตัวละครสมทบผมจำไม่ได้เลยว่าใครแสดงเป็นใคร แว๊บไปแว๊บมาบ่อย เพราะการที่ไม่ได้เป็นตัวเดินเรื่องจึงถูกกลืนหายไปกับบทพร้อมกับภาพที่เต็มไปด้วยความ Abstract บดบังจนมิดไปในพริบตา
การดำเนินเรื่อง
‘เวลา’ เป็นงานในแนว drama ที่เล่าเรื่องราวชีวิตทั้งในอดีต และ ปัจจุบันของสตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นภรรยาของอดีตนายทหารซึ่งปัจจุบันกลายสภาพเป็นผู้ป่วยติดเตียงจนต้องมีคนมาคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา หนังจับเรื่องราวไปที่ ‘แหม่ม’ หญิงชราผู้มอบเวลาทั้งหมดของชีวิตในการปรนนิบัติดูแลสามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ผู้เคยถูกเรียกว่า เสธฯ ร่วมกลุ่มกบฏยังเติร์กซึ่งปัจจุบันกลายเป็นผู้ป่วยที่รักษาตัวเองอยู่กับบ้าน
โดยแหม่มต้องคอยดูแลสุขอนามัยของสามีทุกอย่างด้วยความรักความห่วงใย แม้โดยสภาพแล้วทุกอย่างจะแลดูสิ้นหวังว่าวันหนึ่งอาการของเขาจะดีขึ้น แต่ด้วยจิตวิญญาณของการเป็นภริยา คุณป้าแหม่ม ก็ยังต้องอยู่เคียงข้างเขาไปเช่นนี้ โดยมีเงื่อนปมในอดีตบางประการกับผู้ชายอีกคนที่อาจทำให้ป้าแหม่มพยายามธำรงสถานะการเป็นเนื้อคู่กับชู้ชื่นของเธอให้ยาวนานที่สุด
ความรู้สึกหลังรับชม
พอเรื่องดำเนินไปซักพัก จะเห็นว่ามีเหตุการณ์ Anatomy แต่ละอย่างเข้ามาแทรกไว้ต่อเนื่อง ทับถมกันมาแบบนิ่ง ๆ บวกกับการเป็นหนังเงียบที่มีบทสนทนาที่เรียบง่ายเกือบจะไร้ชีวิตชีวา ถ่ายทอดเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคุณแหม่มกับเสธที่มี Something ต่อกัน สลับ Timeline ไปมาระหว่าง Part อดีต ช่วงวัยหนุ่มสาว ยันเข้าช่วงวัยชราใน Part ปัจจุบัน
ทั้งคู่ผ่านโลกอะไรมามากมายจนเข้าสู่โค้งสุดท้ายของชีวิต มีการเล่นเทคนิคแสง Neon สลัว กึ่ง Fantasy เป็นระยะ แถมเดินช้า ๆ เอือดอาด ไม่รีบร้อน ทำให้ดูเหนื่อยยากกว่าเดิม จึงมี Question มากมายวนเวียนในหัวว่าอันไหนเรื่องจริงอันไหนเรื่องแต่ง ฉากนี้ไม่เข้าใจว่าจะใส่มาทำไม จะสื่ออะไรกันแน่
1 ชั่วโมง 58 นาที ที่แม้จะยาวนานในการปูเรื่อง เกริ่นนำ ช่วงองค์แรก ถึงขั้นวูบหลับไป แล้วมาจูนติดต่อในองค์ 2 เป็นต้นไป ซึ่งเดินเรื่องได้น่าติดตามขึ้นมาหน่อย จนนำไปสู่บทสรุปที่สำหรับผมว่าจบตรงนี้ลงตัวแล้ว อยากให้พอแค่นั้น แต่เหมือนผู้กำกับจะไม่ยอมจบด้วยสิ เหมือนเพิ่งนึกได้ คงค้างคาใจเลยอยากจะเล่าต่อ ก็ประเคนมาเสริมเข้าไปให้ จนลากยาวไปสู่บทสรุปที่รู้สึกอึ้งแล้วเหวอ จนคิดในใจว่า เฮ้ย เอางี้จริงดิ
ถามว่ารู้สึกยังไง ผมว่าแบบนี้ก็พอรับได้อยู่ แต่รู้สึกยืดเยื้อเกินความจำเป็นไปหน่อย
รีวิว anatomy of time เวลา
รีวิวanatomy of time เวลา ภาพยนตร์อิสระ In Time สัญชาติไทยเรื่อง ‘เวลา’ หรือ Anatomy of Time ของผู้กำกับ จักรวาล นิลธำรงค์ ซึ่งได้ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในสายรอง Orizzonti ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิส เมื่อเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์ของผู้กำกับหนังอิสระไทยที่โดดเด่นในบางมุมด้านจนเป็นที่ถูกอกถูกใจ programmer เทศกาลหนังขนาดใหญ่
แต่ก็อ่อนด้อยในบางจุดจนทำให้ตัวหนังไม่สามารถไปได้ไกลตามศักยภาพเริ่มต้นของมันในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังของวงการหนังนอกกระแสร่วมสมัยของไทยที่สุดท้ายก็ยังมองไม่เห็นใครจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งผู้กำกับระดับตำนานที่ยังคงทำงานอยู่อย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้สักที
หนังไทยได้เดินสายเดินทางไปเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติหลายแห่งก็จริงในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่เกือบทั้งหมดก็จะเป็นการประกวดในสายเล็ก ๆ รอง ๆ หรือในเทศกาลชั้นรองที่แทบไม่ได้สร้างกระแสกล่าวขวัญฮือฮาอันใดในวงการภาพยนตร์โลกระดับภาพรวม กลายเป็นความสำเร็จที่เหมือนเป็นการตบบ่าปลอบใจ มิได้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรในระดับที่อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุลได้กรุยทางเอาไว้อย่างโดดเดี่ยวลำพัง
เคยมีวาทกรรมทักษะความสามารถร่วมสมัยทำนองว่า ยุคนี้สมัยนี้ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถมากมายหลายทาง สู้หมั่นฝึกฝนฝึกปรือทักษะอะไรสักอย่างให้เชี่ยวชาญจนเข้ามือไว้สักด้านก็เพียงพอจะเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จแล้ว ความคิดนี้อาจจะจริงสำหรับบางบทบาทโดยเฉพาะในแวดวงการทำหนัง เช่น ตากล้องถ่ายภาพ นักแสดง ฝ่ายแสง ช่างแต่งหน้า soundman มือตัดต่อ ฯลฯ
แต่สำหรับตำแหน่งการเป็น ‘ผู้กำกับ’ แล้วการมุ่งลับฝีมือเอาดีแค่บางด้านอาจไม่เพียงพอสำหรับการมีที่ยืนในแวดวงที่มีการแข่งขันกันสูงเช่นนี้ ยิ่งเป็นหนัง narrative ที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่อง ผู้กำกับ ยิ่งต้องปราดเปรื่องรอบรู้ และ เข้าอกเข้าใจในทุก ๆ ภาคส่วนองค์ประกอบที่กอปรก่อกันเป็นหนังสักเรื่อง ประหนึ่ง วาทยกร
ที่แม้จะดีดสีบรรเลงไม่เป็น แต่ก็ต้องเห็นถึงธรรมชาติแห่งสุ้มเสียงของเครื่องดนตรีทุก ๆ ชิ้นในวงดุริยางค์ จึงจะสามารถควบคุมการบรรเลงออกมาเป็นคีตลีลาที่น่าฟังได้ ไม่ต่างจากการเป็นผู้กำกับที่จำเป็นต้องรู้ และ เข้าใจในทุก ๆ ทักษะกระบวนการของการทำหนังตั้งแต่บรรทัดแรกของบทภาพยนตร์จนถึงบรรทัดสุดท้ายของ End Credit เลยทีเดียว
บทสรุป
ในภาพรวมแล้ว Anatomy of Time อาจจะไม่ได้เป็นภาพยนตร์ หนังเกี่ยวกับเวลา ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ทุกกลุ่มก็จริง แต่เราอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านได้ลองตีตั๋วเข้าไปติดตามภาพยนตร์เรื่องนี้ดูสักครั้ง เพราะเราเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเรื่องราวของแหม่มจะมอบคำถามสั้น ๆ ง่าย ๆ (แต่ต้องไตร่ตรองในการตอบ) อย่าง “ที่ผ่านมาฉันได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง” ให้เราได้ลองขบคิดพร้อมกับแบ่งปันความรู้สึกที่ได้รับกับเพื่อนที่มาดูด้วยกันอย่างแน่นอน