รีวิวหนัง หลานม่า (LAHN MAH) ภาพยนตร์เรื่องใหม่จากค่าย GDH

รีวิวหนัง หลานม่า ภาพยนตร์ไทยที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงที่มีทุกครอบครัว ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของ “บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล” และ “ยายแต๋ว-อุษา เสมคำ”

เรียกได้ว่าเป็นหนังคืนฟอร์ม GDH เลยก็ว่าได้ ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมงของหนัง “หลานม่า” เต็มไปด้วยความเรียบง่าย เล่าความเรียลของชีวิตผ่านตัวละคร “อาม่า” ถึงแม้หนังจะเล่าเรื่องราวของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน

แต่เชื่อว่าครอบครัวคนไทยเองก็สามารถเข้าถึงหนังได้ไม่ต่างกัน นอกจากจะเป็นความคิดถึงของการรอคอยลูกหลานให้กลับบ้านมาพร้อมหน้าพร้อมตาแล้ว ยังเล่าถึงตัวละครลูกที่ถูกเลี้ยงดูมาไม่เหมือนกัน กู๋เคี้ยง ลูกชายคนโตที่มีครอบครัวสุขสบาย

มีครบทุกอย่าง, ซิว ลูกสาวคนกลาง แม่เลี้ยงเดี่ยวสู้ชีวิตที่ถูกมองข้าม, กู๋โส่ย ลูกชายคนเล็กที่ชีวิตสุดจะพัง ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปใช้ชีวิตจนละเลยคนที่สำคัญที่สุดไป

รีวิวหนัง หลานม่า

รีวิวหนัง หลานม่า เรื่องย่อ

เรื่องย่อ หลานม่า เอ็ม (บิวกิ้น พุฒิพงศ์) ตัดสินใจดรอปเรียนตอนปีสี่ เพื่อมาเอาดีทางการแคสต์เกมแต่ทำยังไงก็ไม่รุ่ง เอ็มเลยคิดว่าจะรวยด้วยการทำงานสบายๆ แบบ มุ่ย (ตู ต้นตะวัน) ลูกพี่ลูกน้อง ที่รับหน้าที่ดูแลอากงที่ป่วยระยะสุดท้าย จนกลายเป็นทายาทเพียงคนเดียวที่ได้รับมรดกเป็นบ้านราคากว่าสิบล้าน

เส้นทางเศรษฐีอยู่ตรงหน้า เอ็มจึงอาสาไปดูแลอาม่า (แต๋ว-อุษา เสมคำ) ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินปี โดยหวังว่าจะได้รับมรดกหลักล้านเช่นกัน

เมื่อหลานกับอาม่าที่อายุห่างกันกว่า 50 ปี ต้องมาอยู่ร่วมกัน การต่อปากต่อคำจึงเกิดขึ้นในทุกโมเมนต์แต่มันกลับเป็นช่วงเวลาที่ให้อาม่าลืมเหงาจากการเฝ้ารอลูกชายคนโต กู๋เคียง (ดู๋ สัญญา) ลูกสาวคนกลางอย่าง แม่ของเอ็ม (เจีย สฤญรัตน์) และลูกชายคนเล็กอย่าง กู๋โส่ย (เผือก พงศธร) ที่จะมาพร้อมหน้ากันตามเทศกาลต่างๆ เท่านั้น

ไม่น่าเชื่อว่า งานที่เริ่มต้นทำเพราะหวังรวย จะทำให้คนห่วยๆ อย่างเอ็มได้รู้ว่า คำว่า “ครอบครัว” มีค่ามากกว่าเงิน

รายละเอียดภาพยนตร์
เรื่อง: หลานม่า (LAHN MAH)
ผู้กำกับ: พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์
อำนวยการสร้างโดย เก้ง จิระ มะลิกุล และ วัน วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์
ผู้ผลิต: GDH
แนว: ครอบครัว, ดราม่า
เวลาฉาย: TBC
เข้าฉาย : 4 เมษายน 2024
นำแสดงโดย: บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล, แต๋ว อุษา เสมคำ, ดู๋ สัญญา คุณากร, เผือก พงศธร จงวิลาส, เจีย สฤญรัตน์ โทมัส, ตู ตะวัน ตันติเวชกุล

การดำเนินเรื่อง

หนึ่งในคำโปรยจากโปสเตอร์หนัง ‘หลานม่า’ ที่พูดถึงธีมหลักอย่างครอบครัว ซึ่งเป็นคำโปรยที่บอกเล่าเนื้อหาของภาพยนตร์ ว่าเราสามารถคาดหวังอะไรได้จากหนังเรื่องนี้บ้าง และต้องบอกว่ามันต้องลุ้นอะไรให้มาก เพราะหนัง ‘ทำถึง’ ได้สมกับคำโปรยที่ใส่ไว้

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นปีที่ค่ายหนังอารมณ์ดี GDH ค่อนข้างเจอกระแสแง่ลบอยู่บ่อยครั้ง เพราะคนดูมักจะพูดถึงการที่ GDH มักจะเริ่มตัน ๆ และพยายามพาตัวเองไปเจาะกลุ่มวัยรุ่นเกินไป จนหลายครั้ง คนดูกลุ่มอื่นก็เข้าไม่ถึงหนังเหล่านั้น แม้ว่าหนังในช่วงหลังจะมีเมสเซจดี ๆ ที่ซ่อนไว้ แต่ก็ยังถือว่าโดนค่อนขอดจากกลุ่มคนดูอยู่ตลอด

ดังนั้นแล้ว ‘หลานม่า’ จึงเป็นการที่ GDH เลือกเปลี่ยนเวย์กลับมาโฟกัสกับกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ก็คือกลุ่มครอบครัว ซึ่งนับเป็นแนวทางที่พวกเขาถนัดตั้งแต่ยังชื่อ GTH

หลานม่าเรียกได้ว่าเป็นการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของพัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ภายใต้ชายคา GDH โดยเขาเคยฝากผลงานอันโดดเด่นไว้ในซีรีส์ Project S The Series ตอน SOS skate ซึม ซ่าส์

และฉลาดเกมโกง Bad Genius: The Series ซึ่งแต่ละเรื่องก็มักเป็นเรื่องราวของวัยรุ่นที่อุดมไปด้วยดราม่าครอบครัว อันเป็นเสมือนสนามซ้อมของการทำหนังครอบครัว ก่อนที่พัฒน์จะมาลงสนามจริงด้วยหนังเรื่องหลานม่า

เฮียรู้ป่ะ ว่าสิ่งที่คนแก่ต้องการ แต่ไม่มีลูกหลานคนไหนให้ได้คืออะไร ‘เวลา’ เว้ยเฮีย
หลังสิ้นประโยคของมุ่ยในตอนต้นเรื่อง หนังก็เหมือนสับสวิตช์เดินหน้าเข้าหาความสนุกอย่างรวดเร็ว

นั่นทำให้ครึ่งแรกของเรื่องหนังหลานม่าจะมีมวลอารมณ์ที่ผสมไปด้วยความเป็นโรแมนติ-คอเมดี้อยู่สูง ทว่าสิ่งที่เรากำลังดูคือไม่ใช่หนุ่มสาวจีบกัน แต่เป็นหลานชายหัวดื้อที่กำลังตามจีบอาม่าปากแข็ง ด้วยจุดประสงค์แอบแฝง แม้เรารู้จะว่าสิ่งที่เอ็มกำลังทำนั้นผิด แต่ก็อดไม่ได้ที่จะเอาใจช่วยให้เอ็มได้กลายเป็นหลานรักของอาม่า

ความน่าสนใจของภาพยนตร์

การค่อย ๆ หยอดปม ปัญหา และสร้างสะพานของความสัมพันธ์ ทำให้พัฒนาของตัวละครนั้นขับเคลื่อนไปในแง่บวก เราจะได้เห็นว่าพวกเขาทุกคนล้วนมีปัญหา มีความผิดบาปในใจ ทว่าในตอนท้ายทุกคนก็ได้รับผลของการกระทำนั้น

จนได้เรียนรู้ และมองข้ามความผิดของอีกฝ่าย ซึ่งนับเป็นการวางยาอันชาญฉลาดของพัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ เพราะหนังพาเราไต่กราฟไปจนถึงจุดที่อบอวลด้วยความสุข

แม้กระทั่งฉากเรียกน้ำตา ที่เราไม่ได้ร้องไห้เพราะความเศร้า แต่กลับร้องไห้เพราะความปีติ และอิ่มเอม ซึ่งการที่หนังอบอวลไปด้วยมวลความสุขตลอดเรื่องนี่แหละ นับเป็นอีกหนึ่งความสวยงามของหลานม่าที่เรียกได้ว่าทัชใจคนดูแทบทุกคน

สิ่งหนึ่งที่ต้องชมเลยคือบทเอ็ม เพราะบิวกิ้นสามารถบาลานซ์น้ำหนักของตัวละครเอ็มได้ดีมาก มีทั้งความยียวนกวนโอ๊ย และน่ารักน่าชังในเวลาเดียวกัน ทว่าความยากคือหากนักแสดงบาลานซ์อารมณ์ของตัวละครเอ็มได้ไม่ดี

เอ็มจะเป็นหนึ่งในตัวละครที่คนดูเกลียดสุด ๆ อันเนื่องมาจากการกระทำของเขา ทว่าจุดนี้ถือว่าบิวกิ้นได้ดีทีเดียว เพราะมิติตัวละครที่เขาสร้างมาสามารถแบกเรื่องไว้ได้อยู่หมัด

ในฝั่งของอาม่าที่นำแสดงโดยอุษา เสมคำ แม้ว่าท่านจะเป็นนักแสดงหน้าใหม่ แต่ก็ถือว่าสอบผ่านสำหรับการแสดงเรื่องแรก ซึ่งการที่เราเห็นคุณอุษาในหนังเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ยิ่งทำให้เราเชื่อในตัวละครสนิทได้ใจมากกว่าเดิม จนในเวลา 2 ชั่วโมงนี้เธอกลายเป็นเสมือนญาติผู้ใหญ่อีกคนของคนดูโดยไม่รู้ตัว

นอกจากครอบครัวของเอ็มแล้ว อีกหนึ่งตัวละครที่เราชอบเป็นการส่วนตัวคือมุ่ย ลูกพี่ลูกน้องที่เป็นต้นตอให้เอ็มเริ่มกลับมาหาอาม่า ถึงแม้ว่ามุ่ยจะเป็นตัวละครที่แอร์ไทม์น้อย แต่ทุกฉากที่เธอออกมาก็แสดงให้เห็นถึงความฉลาด เจ้าเล่ห์ น่ารัก

เพราะแม้ว่ามุ่ยจะเป็นตัวละครที่เทา ๆ แต่บทก็ทำให้เห็นถึงด้านที่ดีของตัวละครนี้ ยิ่งการได้ตูมาแสดง ก็ทำให้ทุกฉากที่มุ่ยออกมานั้นสะกดสายตาทุกจุด เรียกได้ว่าสมทบในจุดที่พอเหมาะเป็นอย่างมาก

หากใครรู้สึกว่าหนัง GDH ในช่วงหลังนั้นมีจังหวะค่อนข้างเร็ว เน้นความคอเมดี้เข้าสู้อย่างเดียว หลานม่าอาจจะถือว่าตอบโจทย์เลยล่ะ เพราะหนังมีจังหวะที่ช้า

และให้อารมณ์คนดูได้ Take Time กับบรรยากาศที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้เสียงเปียโนมาประกอบแทนบทพูด ทำให้แต่ละฉากที่ผ่านไป เสมือนภาพมิวสิกวิดีโอที่สวยงาม

ถ้าให้อธิบายว่าหนังหลานม่าจะมีมู้ดคล้าย ๆ กับหนังประเภทไหน เราคงพูดได้ว่าหนังเรื่องนี้มีความคล้ายกับหนังรักญี่ปุ่น

เพราะการใช้ความดราม่ามาผสมคอเมดี้ ค่อย ๆ ไล่จังหวะทางอารมณ์ที่สูง เพื่อปูไปสู่ไคลแมกซ์ของพระ-นางที่กระแทกน้ำตาร่วงนั้น นับเป็นอีกหนึ่งรสชาติที่น่าจับตามองของ GDH เลยทีเดียว

คนที่กลับบ้านไปเมื่อไหร่ก็เจอ อาจไม่ได้อยู่ตรงนั้นเสมอไป

เป็นภาพยนตร์ที่คุณเดาทางได้ไม่ยาก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับพลังของสองนักแสดงนำอย่าง บิวกิ้น พุฒิพงศ์ และนักแสดงหน้าใหม่ที่เดบิวจอเงินในงานนี้งานแรก อาม่า แต๋ว อุษา ทั้งซีนตลก ซีนสนุก ซีนอารมณ์ ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเมียดละไม และใช้เวลามาก

“เพราะสุดท้ายแล้ว คนเป็นแม่ ก็ต้องรักลูกที่สุดอยู่ดี…แต่คนเป็น “หลาน” จะทำยังไงให้ไปแทนที่คนเป็นลูกได้”

นี่คือ Point เด็ดที่ตัวภาพยนตร์เลือกนำมาขยายความผ่านสถานการณ์ที่ชวนอมยิ้มตลอดทั้งเรื่อง หากตีเป็นเส้นกราฟของเรื่อง ก็บอกได้เลยว่าเป็น “เส้นตรงที่รู้จุดจบ” เดาทางได้ ไม่มีอะไรหวือหวา

แต่เป็นเส้นตรงที่โคตรแข็ง ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องทุกดีเทล ทุกการนำเสนอ คือมุ่งไปยังไคลแมกซ์ของเรื่อง และ เชื่อว่าหลายคนที่ได้ดู และมองให้ลึกถึงโครงร้างครอบครัวนี้ จะเข้าใจเลยว่า “ทำไมอาม่าถึงเลือกที่จะทำยังงั้น…”

(ไว้ฉายได้ซัก2-3สัปดาห์ เดี๋ยวมาคุยประเด็นนี้อีกที เพราะเป็นจุดพีค และ พลิกที่ทำให้เรื่องเข้าสู่ความจริงที่น่ากระอักกระอ่วนพอสมควร…)

เป็นภาพยนตร์ที่คุณเดาทางได้ไม่ยาก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับพลังของสองนักแสดงนำอย่าง บิวกิ้น พุฒิพงศ์ และนักแสดงหน้าใหม่ที่เดบิวจอเงินในงานนี้งานแรก อาม่า แต๋ว อุษา ทั้งซีนตลก ซีนสนุก ซีนอารมณ์ ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเมียดละไม และใช้เวลามาก

อีกจุดที่อยากกล่าวถึงคือทีมงานที่สำรวจโลเคชั่น / ทีมอาร์ตไดฯ ที่เลือกสถานที่ ทำเซตติ้งต่างๆได้มีรายะลเอียด มีความหมาย ไม่ได้ถ่ายส่งๆมั่วๆเพราะว่าสถานที่มันสวย …แต่มันมีนัยยะที่เชื่อมโยงกันหมดในแต่ละซีน ที่ทำเอาตบเข่าฉาดร้องเยสเข้กันเลย

ถ้ามองไม่ลึก เราก็ได้ภาพยนตร์ฟีลกู้ดชั้นดีแบบ GDH ที่คืนฟอร์ม และหลุดจากหนังรักวัยรุ่นสมัยนิยมซักที

ภาพสวย องค์ประกอบการเล่าต่างๆ คล้ายการเลี้ยงอารมณ์แบบหนังญี่ปุ่นพอสมควร…อินได้ไม่ยาก

ถ้ามองลึก เราก็ได้ภาพยนตร์สะท้อนสังคม สะท้อนจิตใจคนในยุคปัจจุบัน ที่ใกล้สู่ยุคผู้สูงวัยและคุ้มค่าทุกนาทีที่ทำให้เราสามารถเสียน้ำตาได้… แต่ไม่ใช่น้ำตาแห่งความเศร้า แต่เป็นน้ำตาแห่งความสุข และเป็นน้ำตาที่เข้าใจถึงวัฎจักรของชีวิตครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ

เชื่อว่าอีกไม่นาน พวกเราๆท่านๆ ก็อาจจะมีสภาพไม่ต่างจากอาม่า และคนรอบข้างไม่ต่างจากลูกหลานเท่าไหร่นัก…วันนั้น มาถึงแน่นอน สุดท้ายคนเราก็ต้องแก่ และจากโลกนี้ไป

แต่สิ่งสำคัญคือ “ปัจจุบัน” เราทำดีต่อกันมากน้อยแค่ไหนยังไง

และปิดฉากชีวิตของเรา จากกันไปยังไง และ “ทิ้ง” อะไรไว้ให้มากกว่า…

รีวิวหนัง หลานม่า จุดเด่นและจุดด้อย

จุดเด่นของภาพยนตร์

1.ตัวหนังพูดถึงประเด็นร่วมของคนทุกคน ก็คือครอบครัว นั่นทำให้หนังสามารถจูนติดแทบทุกคน

2.นักแสดงน้อย แต่สามารถเฉลี่ยบทได้ดี ทุกคนมีแอร์ไทม์เป็นของตัวเอง

3.บิวกิ้นช่วยทำให้มวลของหนังมีแต่ความสุข และความสวยงามมากขึ้น

4.เพลงประกอบของหนังที่ชวนให้เราอยากฟังต่อจนจบเครดิต

5.หนังอยู่ในจุดที่ ‘ทำถึง’ ไม่ได้มีเซอร์ไพรส์ แต่ตอบโจทย์ในทุกแง่มุมที่คนดูต้องการ

6.หากใครเบื่อหนัง GDH ในระยะหลัง หลานม่าจะกอบกู้ศรัทธาของค่ายนี้กลับมา

7.หลานม่าน่าจะทริกเกอร์กับใจหลายคนพอสมควร และเราเชื่อว่ามันจะอยู่ในใจของคนดูอีกนาน

รีวิวหนัง หลานม่า

จุดด้อยของภาพยนตร์
1.คนที่อ่อนไหว หริอทริกเกอร์กับเรื่องการสูญเสียญาติผู้ใหญ่คนใกล้ชิด อาจต้องดูอย่างมีวิจารณญาณ เพราะหนังมีที่จุดทริกเกอร์กับใจคนพอสมควร

2.ใครที่โตมากับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคุณตา คุณยายนั้น อาจจะทำให้เรามูฟออนไม่ได้ไปหลายวัน

3.เป็นรสชาติที่ไม่ค่อยได้เห็นในหนัง GDH เท่าไหร่ แม้จะเป็นรสชาติที่ไม่คุ้น แต่ทุกคนก็ควรลองดูสักครั้ง

บทสรุปเนื้อหาโดยรวม

ด้วยความที่หลานม่าเป็นหนังที่ตลบอบอวลด้วยมวลความสุข ต่อให้คนที่ไม่ได้มีเชื้อสายจีนก็สามารถอินกับเรื่องราวนี้ได้ เพราะหนังพูดถึงประเด็นร่วมของมนุษย์ทุกคนอย่าง ‘ครอบครัว’

และผู้สูงอายุก็เป็นกลุ่มที่คนไทยเราเติบโตมาด้วยกัน ฉะนั้นแล้วหนังจึงทำงานกับคนดูมหาศาล เรียกได้ว่ามาในจังหวะที่ถูกต้อง เพราะทำให้เราได้ระลึกถึงคนที่จากไป และอยากกลับไปกอดคนที่ยังอยู่

เมื่อมองดูจริง ๆ หลานม่าไม่ได้มีอะไรเซอร์ไพรส์เลย ทว่าความดีของหนังเรื่องนี้คือ มันสามารถทำตามความคาดหวังที่คนดูต้องการได้ครบ ทุกอย่างในหนังถูกเรียบเรียงออกมาได้ถูกจังหวะ ถูกที่ ถูกเวลา และพาเราไปในจุดที่ต้องชมว่า

‘ทำถึง’ มาก ๆ จนอาจเรียกได้ว่านี่คือหนังคืนฟอร์มของ GDH ในรอบหลายปี นอกจากนั้นยังเป็นการปล่อยของอย่างแท้จริงของพัฒน์ บุญนิธิพัฒน์

ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่าหลานม่าจะถูกพูดถึงในงานสุพรรณหงส์ครั้งหน้า และมันจะถูกพูดถึงไปอีกหลายปีอย่างแน่นอน ในฐานะภาพยนตร์ครอบครัวที่ได้เข้าไปอยู่ในหัวใจของคนดูทุกคน

เพราะ ‘หลานม่า’ จะเป็นความทรงจำที่ยังคงอยู่ตลอดไป ดังเช่นเพลงประกอบของหนังที่ชื่อ “สวยงามเสมอ”

รีวิวหนัง หลานม่า

ติดตามรีวิวหนังเรื่องอื่นๆได้ที่  : รีวิวหนังไทยใหม่ล่าสุด

แนะนำรีวิวหนังไทยน่าดู : รีวิว สาธุ (The Believers) ซีรีส์เสียดสังคมเรื่องใหม่จาก Netflix

ดูหนังออนไลน์ฟรีเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ดูหนังฟรีออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *